วันศุกร์ที่ 11 มี.ค. 2565(13.30 -17.30 น.)
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์(ผบช.ภ.7)
ประธาน“ประชุมบริหารราชการตำรวจภูธรภาค7( ภ.7 )ครั้งที่ 2/2565 และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับหน่วยในสังกัดตพรวจภูธรภาค7( ภ.7 )ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 และมอบใบประกาศชมเชยการปฏิบัติหน้าที่”
โดยมี
พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.ปรัชญา ประสานสุข
รอง ผบช.ภ.7
โดยมี ผบก.ฯ, รอง ผบก.ฯ, ผกก.ฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ได้มีข้อสั่งการดังนี้
ข้อสั่งการ ผบ.ตร. / รอง ผบ.ตร.
(ในการประชุมบริหาร ตร. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 65)
1.เรื่องคดีความมั่นคง การทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการจับกุมแล้ว ให้ ผบก. ลงไปกำกับดูแลคดีด้วยตนเอง เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง และให้ทุกหน่วยไปดูแลในพื้นที่ล่อแหลม โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้วย
2.กำชับกวดชัน การจับกุมบุคคลตามหมายจับค้างเก่า กำชับฝ่ายสืบสวนให้ความสำคัญ และร่วมบูรณาการกับทุกฝ่าย เพื่อเร่งรัดจับกุมบุคคลตามหมายจับค้างเก่า ให้ปรากฏผลโดยเร็ว หัวหน้าสถานีตำรวจ/หัวหน้าหน่วย ต้องตรวจสอบหมายจับคงค้างอยู่เป็นประจำ แล้วมอบหมาย ผู้รับผิดชอบ มีการบริหารหมายจับอย่างเป็นระบบ กรณีหมายที่ครบกำหนด 180 วัน แล้วยังจับไม่ได้ ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ ตร. ที่ 0011.25/3020 ลง 13 ก.ย. 62 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการแจ้งผู้อำนวยการทะเบียนกลางเกี่ยวกับการลงรายการบุคคลที่อยู่ระหว่างการติดตามตัวตามหมายจับของศาลไว้ในทะเบียนบ้านกลาง และกรณีมีการจับกุมตัวตามหมายจับได้แล้ว ให้ดำเนินการประสานงานหน่วยเจ้าของหมาย เพื่อดำเนินการถอนหมาย และจำหน่ายออกจากระบบ CRIMES
3.กำชับให้ทุกหน่วย เร่งรัด กวดขัน จับกุม อาวุธปืน อาวุธสงคราม ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง ให้ปรากฏผลโดยเร็ว กรณีมีการจับกุมอาวุธปืน อาวุธสงคราม ให้ประสานหน่วยเกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบขยายผลให้ถึงที่สุด โดยเฉพาะให้ประสาน พฐ. ในพื้นที่เพื่อตรวจสอบด้วย กรณีมีการจับกุมผู้อิทธิพล มือปืนรับจ้าง ให้ขยายผลการจับกุม และบังคับใช้กฎหมายให้ถึงที่สุด โดยเฉพาะนำมาตรการทางด้านกฎหมายอื่น ๆ มาบังคับใช้ เช่น กฎหมายฟอกเงิน การยึดทรัพย์
4.กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนให้เป็นไปตามยุทธวิธี กำชับผู้บังคับบัญชา ทุกหน่วย ให้ความสำคัญ อำนวยการปฏิบัติของฝ่ายสืบสวนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันความสูญเสีย เช่น การทบทวนยุทธวิธีตำรวจ การจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติ เช่น เสื้อเกราะกันกระสุน, โล่กันกระสุน กรณีนี้ ผบ.ตร. มีความห่วงใย จึงมีนโยบายให้จัดฝึกอบรมทบทวนยุทธวิธีของฝ่ายสืบสวน ขณะนี้อยู่ระหว่าง บช.ศ. โดยศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง ยกร่างโครงการฯ
5.กำชับกวดขันจับกุมการจำหน่ายอุปกรณ์ตรวจ ATK ปลอม หรือไม่ได้คุณภาพผ่านออนไลน์ ให้ทุกหน่วย สืบสวนหาข่าวและวางแผนจับกุมการจำหน่ายชุดตรวจ ATK ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ หากสืบสวนพบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด ให้ประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย
6.ให้ทุกหน่วยประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ท่องเที่ยว และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น สถานประกอบการ โรงแรม ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว ในการดูแลความปลอดภัย นักท่องเที่ยว รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรม หรือเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนจัดชุดสายตรวจ หรือชุดเคลื่อนที่เร็วออกตรวจสถานที่ท่องเที่ยวด้วย
7.ให้ทุกหน่วยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสถานประกอบการ และการจัดกิจกรรม ต้องมีการปฏิบัติตามที่ ศบค. กำหนด โดยเน้นการตรวจร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่เปิดให้มีการดื่มสุราภายในร้าน ให้กำชับการปฏิบัติในการตรวจสอบความผิดเรื่องมั่วสุม การลักลอบเปิดสถานบริการผิดกฎหมาย ร้านอาหาร ต้องเข้มงวด มีผลจับกุม และรายงานผลการปฏิบัติด้วยทุกครั้ง
8.ให้ทุกหน่วยบูรณาการและประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อใช้กลไกปกครองท้องถิ่นและคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม./จว. ในการแก้ไขปัญหา Cluster แบบพุ่งเป้า และดำรงมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มงวด
9.ให้ทุกหน่วย ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ภายใต้กลไกศูนย์สั่งการชายแดน และดำรงการปฏิบัติในการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองอย่างเข้มแข็ง มุ่งเน้นการสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานประกอบการที่รับแรงงานผิดกฎหมายเข้าทำงาน ขบวนการนำพา รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หากพบการกระทำความผิด ให้ดำเนินการทางกฎหมาย ให้เพิ่มความเข้มในการคัดกรองบุคคลเดินทางออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการถูกหลอกลวงให้ไปทำงาน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าน ผบ.ตร. เน้นย้ำเรื่องการค้ามนุษย์ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล จึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กำชับให้ผู้บังคับบัญชาไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และห้ามข้าราชการตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการการลักลอบขนแรงงานต่างด้าวเข้ามาโดยเด็ดขาด
10.กรณีเกิดเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์ ธนาคาร ร้านทอง และร้านสะดวกซื้อ ให้ทำการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม ปรับแผนการตรวจ ตามมาตรการป้องกัน ประชาสัมพันธ์กับผู้ประกอบการให้ป้องกันตนเอง เช่น ติดตั้งลูกกรงเหล็ก ติดตั้งระบบล็อกประตูอัตโนมัติ ติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในและหน้าร้าน และติดตั้งสัญญาณเตือนภัยหน้าร้าน ใช้มาตรการเชิงรุกต่อบุคคล กลุ่มเป้าหมาย เช่น บุคคลพ้นโทษ บุคคลที่ติดการพนัน และบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับสารเสพติดในพื้นที่ ใช้รถของทางราชการเปิดสัญญาณไฟวับวาบในย่านชุมชน จุดเสี่ยง จุดล่อแหลม มีการชักซ้อมแผนเผชิญเหตุ เมื่อเกิดเหตุให้เข้าถึงที่เกิดเหตุตามกรอบเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติตามยุทธวิธี และ SOP การเผชิญเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามที่ได้รับการฝึกอบรม
11.ให้ทุกหน่วยจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีกลุ่มวัยรุ่นทะเลาะวิวาทกันในสถานที่ต่าง ๆ อาทิเช่น ในสถาบันการศึกษา ในโรงพยาบาล หรือในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ และให้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุด้วย
12.เน้นย้ำเรื่องการรับแจ้งความออนไลน์ ให้ทุกหน่วยศึกษาคำสั่ง ตร. ที่ 77/2565 ลง 28 ก.พ. 65 เรื่อง การรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 โดยให้ปฏิบัติดังนี้
(1)ให้ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) ของ สน. เปิดดูระบบตั้งแต่เวลา 09.00 – 23.00 น. ของทุกวัน (09.00 น. ให้เปิดดูระบบทันที) เพื่อจะได้รีบดำเนินการและไม่เกิดปัญหาเรื่องตกค้าง
(2)ให้ผู้บังคับบัญชา ระดับ สน./ภ.จว./ภ. กำกับดูแล ประชุมติดตามผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
ระดับ สภ.
-09.00 น. ให้เปิดเข้าดูระบบโดยทันที ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
-09.30 น. ให้ หน.สภ. หรือ หน.งานสอบสวน ประชุมติดตามคดีออนไลน์ ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) โดยควรมีข้อมูลในการพิจารณา เช่น เรื่องที่ส่งมาให้มีกี่เรื่อง ได้มอบหมาย พงส. และฝ่ายสืบสวนผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง ได้มีการนัดหมายผู้แจ้งตามกำหนดเวลา 4 ชม. หรือไม่ มีความคืบหน้าในแต่ละคดีอย่างไร ฯลฯ พร้อมจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้ง
-10.00 น. ประชุมติดตามคดีออนไลน์ ร่วมกับ ภ.จว. ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ Zoom และร่วมประชุมประจำสัปดาห์กับ ภ. ทุกสัปดาห์
ระดับ ภ.จว.
-10.00 น. ให้ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) ระดับ ภ.จว. ประชุมติดตามคดีออนไลน์ ร่วมกับ สภ. ของทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ Zoom ร่วมกับ สภ. เพื่อกำกับ ดูแลให้มีการบริหารคดี พร้อมจัดทำรายงานการประชุมของ ภ.จว. ไว้ด้วยทุกครั้ง และร่วมประชุมประจำสัปดาห์กับ ภ. ทุกสัปดาห์
-หากพบว่าคดีที่เกิดขึ้นของ สภ. ในสังกัดเป็นคดีที่มีความเชื่อมโยงกันใน ภ.จว. ให้พิจารณารวมคดีได้ โดยให้ ภ.จว. เป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวน
-ให้มีการจัดเจ้าหน้าที่เวรประจำทุกวัน เพื่อติดตามการปฏิบัติในการนัดหมายคดีของผู้แจ้งในหน่วยในสังกัดว่าเป็นไปตามข้อสั่งการหรือไม่ แล้วรายงานให้ รอง ผบก.(ที่ได้รับมอบหมาย) ทราบ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
ระดับ ภ.
-ให้มีการประชุมผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ Zoom กับ สภ./ภ.จว. ในสังกัด เพื่อกำกับดูแลให้มีการบริหารคดี สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพฤหัสบดี โดยให้ รอง ผบช.(ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นประธานการประชุมด้วยตนเอง และรายงานให้ ตร. ทราบ ในวันรุ่งขึ้น ผ่านทางอีเมล [email protected]
-ครั้งแรกให้ ประชุมวันที่ 10 มี.ค. 65 และรายงานให้ ตร. ทราบ ในวันที่ 11 มี.ค. 65 ก่อนเวลา 14.00 น. (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด)
-ให้มีการจัดเจ้าหน้าที่เวรประจำทุกวัน เพื่อติดตามการปฏิบัติในการนัดหมายคดีของผู้แจ้งในหน่วยในสังกัดว่าเป็นไปตามข้อสั่งการหรือไม่ แล้วรายงานให้ รอง ผบช. (ที่ได้รับมอบหมาย) ทราบตามแบบฟอร์มที่กำหนด
(3)ในกรณีที่ พงส. สภ./ภ.จว. มีความประสงค์จะขออายัดบัญชีหรือขอข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับคดีจากธนาคาร ให้ พงส.ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานข้อมูลของศูนย์บริหารรับแจ้งความออนไลน์ฯ ทางโทรศัพท์ 089 109 0000 หรือไลน์ไอดี @pctsupport ซึ่งจะมีเมนูให้ใช้งานหลัก คือ แจ้งปัญหาข้อขัดข้อง ผ่านระบบ Google form แจ้งส่งหมายอายัดและข้อมูลธนาคาร และคู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน
13.ให้ทุกหน่วยประชาสัมพันธ์ 14 ข้อกลโกง ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ ให้ประชาชนรับทราบและระมัดระวัง หากตกเป็นเหยื่อให้รีบแจ้งความออนไลน์ทันที ดังนี้
(1)หลอกขายของออนไลน์
(2)คอลเซ็นเตอร์ (Call Center)
(3)เงินกู้ออนไลน์ดอกเบี้ยโหด
(4)เงินกู้ออนไลน์ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์)
(5)หลอกให้ลงทุนต่าง ๆ ผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง
(6)หลอกให้เล่นพนันออนไลน์
(7)ปลอมโปรไฟล์หลอกให้หลงรัก แล้วหลอกให้โอนเงิน หรือให้ลงทุน (Romance Scam / Hybrid Sacm)
(8)ส่งลิงค์ปลอมหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว ขโมยข้อมูลโทรศัพท์ บัญชีธนาคาร
(9)อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสำคัญ เช่น รหัส OTP ข้อมูลหลังบัตรประชาชน
(10)ปลอมบัญชีไลน์(Line) เฟสบุ๊ค(Facebook) หลอกยืมเงิน
(11)ข่าวปลอม (Fake news) ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ชัวร์ก่อนแชร์)
(12)หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป้เปลือย เพื่อใช้แบล็คเมล์
(13)โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศ แล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย
(14)ยินยอมให้ผู้อื่นบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน , ฟอกเงิน
14.ในการประชุมบริหารครั้งต่อ ๆ ไป ให้ รอง ผบช. ทุกท่าน นำเสนอผลการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ ทั้งหน้างานหลัก และศูนย์ปฏิบัติต่างๆ โดยให้นำเสนอผลการปฏิบัติเป็น รายเดือน และสะสมตั้งแต่ ต.ค. 64 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้แต่ละ จว. รับทราบผลการปฏิบัติ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนต่อไป
15.ภ.7 กำหนดให้มีการระดมกวาดล้างการกระทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ (ศพดส.) ห้วงระหว่างวันที่ 12 – 21 มี.ค. 65 รวม 10 วัน ให้ทุกหน่วยระดมกวาดล้าง และจับกุมการกระทำความผิดตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ตามที่ ศพดส.ตร. กำหนด ใน 11 รูปแบบ
(1)การค้าประเวณี
(2)ผลิตสื่อลามก
(3)เพศรูปแบบอื่น
(4)เป็นทาส
(5)ขอทาน
(6)แรงงาน
(7)แรงงานประมง
(8)แรงงานบังคับ ตามมาตรา 6/1
(9)ใช้แรงงานเด็กรูปแบบเลวร้าย ตามมาตรา 56/1
(10)ตัดอวัยวะ
(11)ขูดรีด

  1. กำชับเรื่องความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ให้