วันพฤหัสบดีที่ 27 ต.ค.65 เวลาประมาณ 13.00 น.

พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์
ผบช.ภ.7

ได้มาตรวจเยี่ยมด่านความมั่นคงห้วยยาง จ.ประจวบคีรีขันธ์

โดยมี
พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม
ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ต.อ.กิตติภพ ชมภูนุช
รอง ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ต.อ.ภาคภูมิ โห้ใย
รอง ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์
พ.อ.พรรณศักย์ เพรียวพานิช
รอง ผบ.ฉก.จงอางศึก / ร.29
น.ส.วิยะรัตน์ หนูเอก
ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง
พ.ต.อ.ภาณุทัต เหลืองสัจจกุล
ผกก.สส.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ต.อ.นนท์ ภักดีพันธ์
ผกก.สภ.ห้วยยาง

พร้อมด้วย ข้าราชการตำรวจ,ทหาร, ฝ่ายปกครอง, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รอรับการตรวจเยี่ยม

ทั้งนี้ได้มอบเงินบำรุงขวัญ เครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับกำลังพลและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่จุดด่านความมั่นคงดังกล่าว

หลังจากนั้น ผบช.ภ.7 ได้เป็นประธานในการประชุม โดยมีข้อแนะนำแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  • ให้ตั้งด่านความมั่นคง ตรวจ และสกัดกั้น สกัดจับ ผู้ที่จะมาก่อเหตุ ซึ่งอาจเดินทางขึ้นมาจากเส้นทางสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย
    1.กำหนดตั้งด่านความมั่งคง จำนวน 2 จุด ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ ด่านสามร้อยยอด และด่านห้วยยาง
    2.ให้ ภ.จว.ประจวบฯ ออกแผนปฏิบัติการตั้งด่านตรวจความมั่นคง และแผนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประกอบแผนการตั้งด่านความมั่นคง โดยให้ดำเนินการตั้งด่านความมั่นคงตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ จัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติภารกิจ โดยจัดกำลังเข้าปฏิบัติเป็นผลัดตามวงรอบกำหนดเวลาการปฏิบัติให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยให้ มี รอง ผกก.ป เป็นหัวหน้าด่านความมั่นคง (หากไม่เพียงพอให้ใช้ รอง ผกก.สส. มาร่วมเป็นหัวหน้าด่านความมั่นคง)
    3.รูปแบบการตั้งด่านความมั่นคงให้ตั้งตามมาตรฐานที่ ตร. กำหนด มี ชุดล่วงหน้า มีชุดเรียกตรวจ มีชุดตรวจค้น มีชุดซักถามตรวจสอบข้อมูล มีการถ่ายรูปทำประวัติ มีชุดคุ้มครอง (COVER) และมีชุดติดตามคนร้าย เป็นต้น
    4.ให้ผู้บังคับบัญชา ระดับ รอง ผบช.ภ.7 (รับผิดชอบ มั่นคง และรับผิดชอบ จังหวัดประจวบ ) ,ผบก.ภ.จว.ประจวบฯ , รอง ผบก.ภ.จว.ประจวบฯ ควบคุม อย่างใกล้ชิด
    5.ให้มีอุปกรณ์ในด่านความมั่นคงให้ครบถ้วน เช่น CCTV , License Plate , Smart card reader , Face recognition ร่วมถึง อุปกรณ์ในการตั้งด่านอื่น ๆ เช่น stop stick เป็นต้น
    6.บก.สส.ภ.7 , กก.สส.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ ต้องประสานการปฎิบัติ และประสานข้อมูลกับ สันติบาล บก.สส.บช.น. , บช.ก (บก.ป.) , ภ.8 และ ภ.9 เพื่อรับข้อมูลคนร้าย ภาพบุคคลต้องสงสัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้น ต้องรวบรวมวิเคราะห์ และส่งข้อมูลข้างต้นให้ ด่านความมั่นคง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบคัดกรอง
    7.เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่ในด่านความมั่นคงทุกนาย ต้องทราบภารกิจ ทราบหน้าที่ ทราบข้อมูล และทราบจุดประสงค์ในการมาปฏิบัติหน้าที่ (อย่าให้มาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทราบภารกิจ ไม่รู้หน้าที่ ไม่ทราบจุดประสงค์)
    8.เจ้าหน้าที่ทุกนาย ต้องทราบ หัวข้อหลักในการสังเกต คัดกรอง ตรวจสอบ บุคคลที่ผ่านด่านความมั่นคง เช่น ตรวจสอบหมายจับผ่าน Smart card reader , ตรวจสอบใบหน้า , ทะเบียน สี ยี่ห้อ และจุดสังเกตุอื่น ๆ ตามข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายสืบสวน
    9.ด่านความมั่นคง ต้องพิจารณาคัดกรอง ผู้ผ่านด่านความมั่นคง แม้ไม่มีข้อมูลต้องตรงกับข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นบุคคลเฝ้าระวังต้องสงสัย หรือมีหมายจับ แต่หากมีข้อพิจารณา เช่นมีพิรุธ พูดสำเนียงยาวี ต้องถ่ายภาพบุคคลหน้าตรง ถ่ายภาพยานพหนะ จัดทำการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้
    10.หากมีการตรวจพบการกระทำความผิด บุคคลตามหมายจับ หรือมีการตรวจพบ หรือควบคุมบุคคลต้องสงสัย บุคคลเฝ้าระวังตามข้อมูล ให้รีบแจ้งผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นโดยทันที
    11.ให้ผู้บังคับบัญชา จัดสรรดูแลสวัสดิการ อาหาร เครื่องดื่ม กำลังพล ในด่านตรวจความมั่นคง ให้เพียงพอ อย่าให้เกิดข้อบกพร่องเด็ดขาด
    12.กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย ในการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ให้มีการปล่อยแถว ตรวจสอบอุปกรณ์ อาวุธปืน อุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งจุดตรวจจุดสกัด ในแต่ละผลัดก่อนทุกครั้ง โดยให้ทำงานโดยยึดหลักกฎหมายและรอบคอบตามหลักยุทธวิธีตำรวจ ที่ได้ฝึกทบทวนมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียแก่ครอบครัวพี่น้องข้าราชการตำรวจ ตามที่ ผบ.ตร. ได้ฝากข้อห่วงใย
  • การตั้งจุดตรวจจุดสกัด จุดก้าวสกัดจับ
    1.ให้กำหนดการตั้งจุดตรวจจุดสกัด ในเส้นทางที่วิเคราะห์แล้วว่าอาจเป็นเส้นทางที่คนร้ายใช้ในการเข้าไปก่อเหตุ หรือหลบหนี
    2.การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ให้ประสานการปฏิบัติระหว่าง หน่วยในแต่ละ พื้นที่/ บช. ให้ตั้งในรูปแบบโครงข่ายใยแมงมุม ไม่ทับซ้อน กัน และมีช่องทางประสานการปฏิบัติระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
    3.การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นเช่นเดียวกับ การตั้งด่านความมั่นคง เช่น ทราบจุดประสงค์ ทราบหน้าที่ในการตั้งจุดตรวจจุดสกัด มีหลักในการสังเกตบุคคลต้องสงสัย หากพบต้องมีการบันทึกภาพคน ยานพาหนะ จัดเก็บข้อมูล และแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
    4.หากมีเหตุ และมีการแจ้งเหตุก้าวสกัดจับ ต้องมีการตั้งจุดก้าวสกัดจับปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างทันท่วงที
  • ด้านการข่าว
    1.ให้แต่ละพื้นที่ สืบสวนหาข่าว ในลักษณะการ X-ray พื้นทื่ โดยมีเป้าหมายของข้อมูล คือ สถานที่ที่อาจเป็นที่พัก ที่นัดพบของคนร้าย หรือจุดผ่านทางคนร้าย อาทิ โรงแรม อพาร์ทเมนท์ มัสยิส ร้านขายอาหารอิสลาม ท่ารถท่าเรือ สถานีขนส่ง คนขับรถ เรือ โดยสาร เป็นต้น และสถานที่จำหน่ายวัตถุที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของระเบิดได้ เช่นร้านขายปุ๋ย ร้านขายวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น โดย
    1.1ให้เข้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวให้ทราบ เจ้าของ ผู้ดูแล มีชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ช่องทางการติดต่อสอบถาม และกำหนดเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ประสานงานที่ชัดเจน
    1.2 ต้องประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับเจ้าของ หรือผู้ดูแล กิจการข้างต้น ให้ทราบวัตถุประสงค์ และวิธีสังเกต จุดสังเกต หัวข้อการสังเกต เช่น หากมีบุคคลต้องสงสัย บุคคลแปลกหน้าลักษณะพิรุธ หน้าตา สำเนียง การแต่งกาย การพูดคุย สำเนียงยาวี หรือพูดภาษายาวี มาซื้อของ มารวมตัว มาเข้าพักอาศัย ให้ช่วยสังเกต ยานพาหนะ และจุดอื่น ๆ ที่สังเกตได้ และแจ้ง เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโดยทันที
    1.3 ตรวจสอบหาข่าว หาขอมูล ของ รปภ., แม่บ้าน ของ หมู่บ้าน ห้าง โรงแรม ศูนย์การค้า โรงพยาบาล ว่า เป็นบุคคลที่มาจาก สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ พร้อมจัดทำบันทึกข้อมูล มีภาพ มีรายละเอียด
    1.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ต้องทราบแผนประทุษกรรมของผู้ก่อเหตุ เช่น มักมีการมาสำรวจพื้นที่ เข้าพื้นที่ก่อนการปฏิบัติการ เป็นเวลานาน เช่นมาก่อน 1 เดือน เนื่องจากมีจุดประสงค์ ให้ข้อมูลใน กล้อง CCTV ถูกลบตามระยะเวลาบันทีก เป็นต้น ดังนั้น ต้องมีการสืบสวนหาข่าว และประชาสัมพันธ์ ข้างต้น ก่อนภารกิจ
    1.5 เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับทราบข้อมูล จากผู้ประกอบการ ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที และให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ
    1.6 ฝ่ายสืบสวน ต้องสืบสวน ทำข้อมูล บุคคลเฝ้าระวัง ในส่วนของบุคคลที่มีความเห็นต่างกับรัฐบาล เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัง หาข่าว ดำเนินการตามความเหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมรายงานข้อมูลที่สำคัญ ให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
    2.สำรวจสถานที่ตามข้อ 1 มี CCTV หรือไม่ หากไม่มี ให้ประชาสัมพันธ์ แนะนำให้ติด และมีช่องทางทางการติดต่อขอดู ขอรับข้อมูล CCTV ได้อย่างรวดเร็ว

ณ สภ.ห้วยยาง ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์