ศิษยานุสิทธิ์ ร่วมทำพิธีสรงน้ำ พระครูอุดมภาวนาธิมุต
(หลวงพ่อเพย) เจ้าอาวาสวัดบึง ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะสงฆ์ เนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี 2566

พระครูอุดมภาวนาธิมุต
(หลวงพ่อเพย)เป็นพระ ปฏิบัติปกครองเหล่าคณะสงฆ์อย่างเคร่งครัดภายใต้ความมีเมตตาธรรมและศีลธรรม รวมถึงเป็นแบบอย่างในการที่จะช่วยผลักดันงานโครงการต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองถาวรสืบไป

การสรงน้ำพระ มี ๒ แบบ คือ
๑) การสรงน้ำพระพุทธรูป
๒) การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร
การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรืออัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณรจะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผ้าสบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย
การสรงน้ำพระได้บุญ คือ ความสุขใจ เบิกบานใจ ชุ่มชื่นใจ ความสะอาดของจิตใจ อันเกิดจากความเลื่อมใสในสิ่งที่ตนเคารพแล้วกระทำการบูชา ดังพระบาลีว่า “นัตถิ จิตเต ปะสันนัมหิ อปัปะกา นามะ ทักขิณา เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ผลบุญไม่ชื่อว่าน้อย” การสรงน้ำพระก็เป็นการกระทำที่เกิดจากจิตที่เลื่อมใส ในพระรัตนตรัยแล้วต้องการถวายน้ำอบน้ำหอม อันเป็นอามิสบูชา อีกนัยหนึ่งเป็นการแสดงมุทิตาจิตในท่านผู้เป็นที่เคารพ ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ก็จัดอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพทางด้านจิตใจ เพราะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ สืบสานหลักธรรมนำเผยแผ่ สาธุชนสำนึกในคุณงามความดีของท่านจึงถวายการเคารพบูชาด้วยการสรงน้ำ ซึ่งมีอานิสงส์ที่ท่านได้แสดงไว้ดังนี้

เรื่องเล่าอานิสงส์ การสรงน้ำพระในสมัยพุทธกาล
ในกาลครั้งนั้นองค์สมเด็จพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่
ณ เชตวันมหาวิหาร พร้อมภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ได้นำเครื่องสักการะทั้งหลายเข้าไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ถวายอภิวาทแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันบุคคลใดกระทำสักการะบูชา
สรงเถราภิเษก แก่สงฆ์ด้วยใจ เลื่อมใสศรัทธา จะได้ผลอานิสงส์เป็นอย่างไรพระเจ้า
ข้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าดูกรมหาราช บุคคลใดมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการในเมื่อปรารถนาอันใดก็จะสมความมุ่งมาตรปรารถนาทุกประการ การทำเถราภิเษกนี้ได้ ทำกันสืบๆ มาในครั้งพุทธเจ้าก่อน ๆ

แล้วพระองค์ทรงแสดงสืบต่อไปว่า
ในกาลครั้งนั้นเป็นสมัยครั้งศาสนาของพุทธเจ้าเมธังกร ยังมีพระยาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าวิชัยยะ ได้เสวยสมบัติในเมืองสารนครประกอบไปด้วยทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ มีเถระองค์หนึ่งชื่อว่า
อุสสา เป็นอันเตวาสิกแห่งพุทธเจ้าเมธังกร พระยาวิชัยยะได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาเถระเข้ามาในเมือง พระยาวิชัยยะก็มีใจศรัทธาเลื่อมใสในอิริยาบถของพระมหาเถระเจ้าเสร็จไปต้อนรับนิมนต์ให้ไปสู่ปราสาทของพระองค์ แล้วก็จัดแจงสรงเถราภิเษกด้วยน้ำหอม เสร็จแล้วถวายภัตตาหาร ตั้งความปรารถนาว่าปวงชนทั้งหลายที่อยู่ในขอบเขตขัณฑเสมา ขอจงตั้งอยู่ในโอวาทคำสอนของพระองค์ทุกเมื่อ และขอให้ข้าพระองค์ได้พ้นจากทุกข์ภัยเวร ข้าศึกศัตรูทั้งหลายด้วย บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ในอนาคตกาลโน้นเทอญ พระมหาเถระเจ้าก็ได้อนุโมทนา แห่งพระยาวิชัยยะแล้วถวายพระพรทิพย์ ๑๐ ประการ ลากลับไปสู่
สำนักแห่งพระมหาเถระเจ้าพระยาวิชัยยะได้รับพรแห่งพระมหาเถระ แล้วมีจิตยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ ต่อบุญกุศลของพระองค์ที่ทรงกระทำไว้ ครั้นจุติจากโลกแล้วก็ไปอุบัติอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตพิภพ มีวิมานทองสูง ๒๒ โยชน์ มีนางเทพอัปสรแสนหนึ่งเป็นบริวาร ครั้นสิ้นชีพเทวบุตรแล้ว ได้ไปเกิดเป็นเจ้าพระสิริตะ เสริมสร้างบารมีให้แก่กล้าขึ้นไป ได้มา
เกิดเป็นองค์พระตถาคต เดี๋ยวนี้แล
เป็นเหตุสำคัญทำให้เกิดประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของทุกแห่งในประเทศไทย รวมทั้งที่ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ ด้วยเช่นกันเพจ#ข่าวเป็นข่าวดอทคอม/เอกชัย/รายงาน0894981477

สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย