วช. หนุนนักวิจัยไทยสร้างชื่อ เข้าร่วมงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติคว้าเหรียญทองเกียรติยศ และเหรียญทอง 11 รางวัล

เพื่อผลักดันการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและด้านการประดิษฐ์คิดค้น ให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยผ่านการดำเนินกิจกรรมหลายรูปแบบ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงให้การสนับสนุนให้นักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดและนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ และหนึ่งในกิจกรรมที่ วช. ดำเนินการต่อเนื่องทุกปีคือ การสนับสนุนให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยส่งผลงานเข้าประกวดในงาน “Inventions Geneva Evaluation Days – Virtual Event” ซึ่งเป็นงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวิสฯ อาทิ The Swiss Federal Government of the State และ The City of Geneva และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ The World Intellectual Property Organization (WIPO) ซึ่งจัดขึ้นตลอดช่วงเดือนมีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งนอกจากการเปิดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศแล้ว ยังเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างโอกาสแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของไทย สำหรับการรับรองมาตรฐานแก่ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และการยอมรับในผลงานที่มีโอกาสทางการตลาดและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร วช. ได้นำผลงานของนักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย จำนวน 35 ผลงาน จาก 17 หน่วยงานเข้าร่วมประกวด ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา โรงเรียนนานาชาตินิสท์ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท เอ็นคอนเน็ค จำกัด บริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัด บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฟู้ดแมททริซ์ โกลบอล จำกัด บริษัท อาร์ แอนด์ ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด จากผลงานของนานาประเทศที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและแสดงนิทรรศการกว่า 500 ผลงาน จาก 20 ประเทศ เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่านักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย ได้รับรางวัลต่างๆ ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งนี้ ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold with Congratulations of the Jury) จำนวน 1 รางวัล รางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 18 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 5 รางวัล โดยมีรายละเอียดดังนี้

รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold with Congratulations of the Jury) จำนวน 1 ผลงาน เรื่อง อุปกรณ์เสริิมสำหรับเก้าอี้รถเข็น ขึ้นลงทางลาด โดย นายจีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และ นางสาววริษฐา มโนรถจตุรงค์ แห่ง โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา

สำหรับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 ผลงาน ดังนี้ 1. เรื่อง อุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์ชิปสำหรับตรวจไมโครฟิลาเรียในเลือด โดผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิงศริยา อัศวกาญจน์ และคณะ แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เรื่อง Tri-interactive exercise with brain energy & stimulation training โดยรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงโสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ และ นางสาวณัชณิชา เพ็ญศรีสิริกุล แห่ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. เรื่องนมข้นหวานจากข้าวและธัญพืช สูตรมังสวิรัติ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร และคณะ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4. เรื่อง เฮมพ์-พารา วอลล์ : วัสดุก่อผนังฉนวนความร้อนจากแกนกัญชงอัดน้ำยางธรรมชาติ โดย ดร.ประชุม คำพุฒ และคณะ แห่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 5. เรื่องการสร้างต้นแบบแท่งเย็น RIXI® สำหรับบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร โดย

วช. หนุนนักวิจัยไทยสร้างชื่อ เข้าร่วมงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติคว้าเหรียญทองเกียรติยศ และเหรียญทอง 11 รางวัล

เพื่อผลักดันการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและด้านการประดิษฐ์คิดค้น ให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยผ่านการดำเนินกิจกรรมหลายรูปแบบ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงให้การสนับสนุนให้นักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดและนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ และหนึ่งในกิจกรรมที่ วช. ดำเนินการต่อเนื่องทุกปีคือ การสนับสนุนให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยส่งผลงานเข้าประกวดในงาน “Inventions Geneva Evaluation Days – Virtual Event” ซึ่งเป็นงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวิสฯ อาทิ The Swiss Federal Government of the State และ The City of Geneva และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ The World Intellectual Property Organization (WIPO) ซึ่งจัดขึ้นตลอดช่วงเดือนมีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งนอกจากการเปิดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศแล้ว ยังเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างโอกาสแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของไทย สำหรับการรับรองมาตรฐานแก่ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และการยอมรับในผลงานที่มีโอกาสทางการตลาดและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร วช. ได้นำผลงานของนักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย จำนวน 35 ผลงาน จาก 17 หน่วยงานเข้าร่วมประกวด ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา โรงเรียนนานาชาตินิสท์ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท เอ็นคอนเน็ค จำกัด บริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัด บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฟู้ดแมททริซ์ โกลบอล จำกัด บริษัท อาร์ แอนด์ ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด จากผลงานของนานาประเทศที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและแสดงนิทรรศการกว่า 500 ผลงาน จาก 20 ประเทศ เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่านักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย ได้รับรางวัลต่างๆ ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งนี้ ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold with Congratulations of the Jury) จำนวน 1 รางวัล รางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 18 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 5 รางวัล โดยมีรายละเอียดดังนี้

รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold with Congratulations of the Jury) จำนวน 1 ผลงาน เรื่อง อุปกรณ์เสริิมสำหรับเก้าอี้รถเข็น ขึ้นลงทางลาด โดย นายจีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และ นางสาววริษฐา มโนรถจตุรงค์ แห่ง โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา

สำหรับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 ผลงาน ดังนี้ 1. เรื่อง อุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์ชิปสำหรับตรวจไมโครฟิลาเรียในเลือด โดผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิงศริยา อัศวกาญจน์ และคณะ แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เรื่อง Tri-interactive exercise with brain energy & stimulation training โดยรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงโสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ และ นางสาวณัชณิชา เพ็ญศรีสิริกุล แห่ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. เรื่องนมข้นหวานจากข้าวและธัญพืช สูตรมังสวิรัติ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร และคณะ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4. เรื่อง เฮมพ์-พารา วอลล์ : วัสดุก่อผนังฉนวนความร้อนจากแกนกัญชงอัดน้ำยางธรรมชาติ โดย ดร.ประชุม คำพุฒ และคณะ แห่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 5. เรื่องการสร้างต้นแบบแท่งเย็น RIXI® สำหรับบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร โดย